การก่อการร้ายแบบผสานสองโลก (O2O): การต่อสู้เพื่อเอาชนะจิตใจ (Hearts and Minds) ในโลกเสมือน (Online)
อันที่จริงนักเจาะระบบ (hackers) และผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพช่วยยกระดับขีดความสามารถของกลุ่มก่อการร้าย ซึ่งมีความตั้งใจพื้นฐานอย่างกว้าง ๆ ในการ “ชักชวน” คนมาเป็นสมาชิกระดับล่าง (foot soldiers) โดยเล็งเป้าหมายเยาวชนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ กลุ่มคนเหล่านี้มักมีความคับข้องใจและถูกแสวงประโยชน์โดยกลุ่มก่อการร้าย ในอนาคตจุดเปลี่ยนสำคัญของยุทธศาสตร์การต่อต้านการก่อการร้ายไม่เกี่ยวข้องกับการจู่โจมและการเฝ้าตรวจสอบโทรศัพท์เคลื่อนที่ แต่จะมุ่งเน้นแกะรอยความเปราะบางของประชากร “กลุ่มเสี่ยง” ผ่านการมีส่วนร่วมทางเทคโนโลยี อนุมานว่า ร้อยละ 52 ของประชากรทั้งโลกในปี 2016 มีอายุต่ำกว่าสามสิบปี ส่วนใหญ่ถูกเรียกว่า “กลุ่มเสี่ยงทางเศรษฐกิจสังคม” อาศัยอยู่ในชุมชนแออัดในเมือง (urban slum) หรือชุมชนผู้อพยพที่ยากจนและในที่ซึ่งหลักนิติธรรม (the rule of law) ไม่น่าเชื่อถือและโอกาสทางเศรษฐกิจมีจำกัด ความยากจน แปลกแยก การดูถูก ความอัปยศอดสู ขาดโอกาสและแปรเปลี่ยนได้ง่ายรวมทั้งความเบื่อหน่าย ทำให้ประชากรเหล่านี้มีจิตใจอ่อนไหว เมื่อเทียบเคียงกับฉากหลังการใช้อำนาจควบคุมบังคับและการส่งเสริมความรุนแรงในวัฒนธรรมย่อย จะเห็นความจริงที่ว่า ความคับข้องใจของเด็กสลัมด้อยการศึกษาเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงความรุนแรง ในทำนองเดียวกับนักศึกษามหาวิทยาลัยที่มองไม่เห็นโอกาสหลังการศึกษาจบปริญญาในอนาคต Google Ideas ได้ศึกษากระบวนการทำให้หัวรุนแรง (radicalization) ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทของเทคโนโลยีสื่อสารพบว่า กระบวนการทำให้หัวรุนแรงของผู้ก่อการร้ายมิได้แตกต่างจากที่เราเห็นมากนัก พวกมิจฉาชีพหรือกลุ่มหัวรุนแรงอื่น ๆ เหมือนกับกลุ่มคนขาวผู้สูงส่ง การประชุมสุดยอดต่อต้านความรุนแรงสุดโต่ง (Summit Against Violent Extremism) ในมิถุนายน 2011 มีอดีตพวกหัวรุนแรงกว่า 80 คนเข้าร่วมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแบบเปิดในหัวข้อ ทำไมปัจเจกบุคคลจึงเข้าร่วมองค์การหัวรุนแรงและทำไมพวกเขาละทิ้งองค์การนั้นผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นประกอบด้วยตัวแทนกลุ่มหัวรุนแรงทางศาสนา กลุ่มชาตินิยมหัวรุนแรง กลุ่มมิจฉาชีพในเมือง กลุ่มเผด็จการฟาสซิสต์และองค์การจิฮัด (Jihadist organizations) ผลปรากฎว่า กลุ่มเหล่านี้มีมูลเหตุจูงใจเหมือนกัน โดยศาสนาและอุดมการณ์มีบทบาทน้อยกว่าที่คนส่วนใหญ่คิด เหตุผลที่คนเข้าร่วมกลุ่มหัวรุนแรงนั้นมีความซับซ้อนและมักเกี่ยวข้องกับการขาดเครือข่ายสนับสนุน ความต้องการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม เพื่อกบฏ ขอความคุ้มครองหรือไล่ล่าอันตรายและการผจญภัยเยาวชนจำนวนมากมีความรู้สึกร่วมในเรื่องดังกล่าว โดยได้เผยแพร่ความคับข้องใจทางออนไลน์ด้วยความตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจโฆษณาตนเองต่อผู้ชักชวน (recruiters) ของกลุ่มก่อการร้าย สิ่งที่เยาวชนหัวรุนแรงแสวงหาผ่านการเชื่อมต่อในโลกเสมือนจริงเกิดขึ้นจากประสบการณ์ของพวกเขาในโลกกายภาพเช่น การทอดทิ้ง ปฏิเสธ การแยกตัว ความโดดเดี่ยวและการละเมิด เราอาจนึกถึงพวกเขาในแง่ดีในโลกเสมือนจริง แต่สุดท้ายการถอนความเป็นหัวรุนแรง (de-radicalization) ที่แท้จริงจำเป็นต้องมีการประชุมกลุ่มและการสนับสนุน รวมทั้งการบำบัดโรค (therapy) และทางเลือกที่มีความหมายในโลกกายภาพถ้อยคำและการปราศรัยต่อต้านความรุนแรงสุดโต่งคงไม่เพียงพอสำหรับการต่อสู้เพื่อเอาชนะจิตใจเยาวชนเหล่านั้น อย่างไรก็ดี กองกำลังทางทหารจะไม่ทำงานนี้เช่นกัน (Military force will not do the job, either) เนื่องจากรัฐบาลประสบความสำเร็จอย่างมากในการจับกุมและสังหารผู้ก่อการร้ายที่มีอยู่ แต่ด้อยประสิทธิภาพในการสกัดกั้นการไหลบ่าของการชักชวนคนเข้าร่วมกลุ่มก่อการร้ายพลเอก Stanley McChrystal อดีตผู้บัญชาการกองบัญชาการร่วมปฏิบัติการพิเศษ (Joint Special Operations Command – JSOC) ของสหรัฐฯและ NATO ในอัฟกานิสถานกล่าวกับ Der Spiegel นิตยสารรายสัปดาห์ชื่อดังของเยอรมนีในปี 2010 ว่า สองสิ่งที่เอาชนะการก่อการร้ายได้คือ หลักนิติธรรม และโอกาสสำหรับประชาชน หากคุณมีวิธีการปกครองที่ยินยอมให้คุณมีหลักนิติธรรม คุณจะมีสภาพแวดล้อมซึ่งยากที่จะแสวงหาการก่อการร้ายและหากคุณมีโอกาสในชีวิตสำหรับประชาชน รวมทั้งการศึกษาและโอกาสการมีงานทำ ถ้าอย่างนั้นคุณได้นำสาเหตุเลวร้ายที่สุดของการก่อการร้ายออกไป จริง ๆ แล้ว หนทางในการเอาชนะการก่อการร้ายไม่ใช่การโจมตีทางทหาร แต่เป็นการดำเนินการตามเงื่อนไขความจำเป็นพื้นฐานยุทธศาสตร์การต่อต้านความรุนแรงที่มีศักยภาพมากที่สุดมีจุดมุ่งเน้นในพื้นที่ใหม่บนโลกเสมือนจริง (new virtual space) โดยจัดเตรียมให้เยาวชนมีเนื้อหาทางเลือกที่หลากหหลายและสิ่งที่ทำให้ไขว้เขว ซึ่งจะทำให้พวกเขาไม่ใฝ่หาความรุนแรงเป็นทางเลือกสุดท้าย ความพยามนี้ควรมีขนาดใหญ่และเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสียที่มีภูมิหลังจากทุกภาคส่วนทั้งประชาชน บริษัทเอกชน ความเป็นหุ้นส่วนระหว่างตัวแสดงในท้องถิ่นกับนักเคลื่อนไหวในต่างประเทศเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Technology) มีบทบาทที่โดดเด่นในการรณรงค์เรื่องนี้ ตั้งแต่คนส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์มือถือเข้าสู่โลกออนไลน์ โทรศัพท์มือถือที่ถูกทำให้เป็นส่วนตัวและเป็นแพลตฟอร์มที่ทรงพลัง รวมทั้งสถานะเชิงสัญลักษณ์ที่ผู้ใช้วางใจและให้คุณค่าอย่างลึกซึ้ง การเข้าถึงเยาวชนที่ไม่พอใจผ่านมือถือของเขาคือเป้าหมายที่เป็นไปได้มากที่สุดที่เรามีเป็นที่น่าสังเกตว่าการชุมนุมของกลุ่มเยาวชนปลดแอก (Free YOUTH) หรือถูกเรียกอย่างเหน็บแนมว่า “ม็อบมุ้งมิ้ง” (ภาษาถิ่นภาคใต้หมายถึงหวันเย็นหรือช่วงพลบค่ำ) เมื่อ 18 กรกฎาคม 2020 ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นปรากฎการณ์ทางการเมืองของกลุ่มประชากรอายุต่ำกว่า 30 ปี ที่ลุกขึ้นมาแสดงความไม่พอใจสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและเรียกร้องการปฏิรูป พวกเขาเป็นชาวพื้นเมืองดิจิตอล (digital native) ซึ่งวางแผน นัดหมายเคลื่อนไหวบนโลกเสมือนจริงผสานการปรากฎตัวในโลกกายภาพขณะนี้เราเห็นคนหนุ่มสาวทั่วโลก แสดงความปรารถนาที่จะมีปากมีเสียงในประเด็นเกี่ยวกับการเมืองการปกครองและเศรษฐกิจการดำรงชีวิตมากขึ้นกว่าที่เคย พวกเขาต้องการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้การทำงานของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว เพื่อทำให้โลกนี้ดีขึ้นสำหรับพวกเราทุกคน การทำความ “เข้าใจ” เพื่อจะ “เข้าถึง” (ไม่ใช่การคุกคาม) และรับฟังเสียงเรียกร้องของพวกเขามาพิจารณาไตร่ตรองหาทางออกที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง “พัฒนา” ร่วมกันอย่างยั่งยืนก็เป็นทางเลือกที่ดีมิใช่หรือ?
https://www.ianalysed.com/2020/08/o2o-hearts-and-minds-online-4.html