บทความ

ความน่าจะเป็นของเมียนมา ส่อเค้าเปลี่ยนโฉมรัฐเดี่ยวสู่สมาพันธรัฐ

เมียนมามีชื่อทางการว่าสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนเป็นประเทศเพื่อนบ้านทางตะวันตกของราชอาณาจักรไทย มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย มีพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 51 ล้านคน มีเมืองหลวง คือ กรุงเนปยีดอ และนครใหญ่สุด คือนครย่างกุ้ง

เมียนมาแบ่งการปกครองออกเป็น 7 เขต สำหรับพื้นที่ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์พม่า และ 7 รัฐ สำหรับพื้นที่ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อยอันได้แก่ รัฐฉาน รัฐกะเหรี่ยง รัฐกะยา รัฐกะฉิ่น รัฐชิน รัฐมอญ รัฐยะไข่ และ 1 ดินแดนสหภาพ คือดินแดนสหภาพเนปยีดอ ที่มีเมืองหลวงของประเทศ คือ กรุงเนปยีดอตั้งอยู่นั่นเอง

ความที่เมียนมามีกลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นยอมรับของรัฐบาลเมียนอยู่ 135 กลุ่มแต่สามารถแบ่งออกเป็น 7 รัฐซึ่งมีเนื้อที่ร่วมครึ่งหนึ่งของประเทศ หากแบ่งคร่าว ๆ จำนวนประชากรของกลุ่มชาติพันธุ์ในเมียนมาได้ดังนี้

  • พม่า – 68%
  • ไทใหญ่ – 9%
  • กะเหรี่ยง – 7%
  • ยะไข่ – 3%
  • จีน – 2%
  • อินเดีย – 2%
  • มอญ – 2%
  • กะฉิ่น – 1%
  • ชิน – 1%
  • กะยา – 1%
  • ชาติพันธุ์อื่น ๆ – 5%

ขอย้ำนะครับว่าเป็นการแบ่งกลุ่มชาติพันธุ์ในเมียนมาอย่างคร่าวๆ มากทีเดียว เนื่องจากกลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นที่ยอมรับของรัฐบาลเมียนมามีอยู่ 135 กลุ่มนั้นความจริงมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่านั้นอีกยกตัวอย่างชัดๆ เลยก็ได้ว่า “โรฮิงญา” ก็มิได้รับการยอมรับจากรัฐบาลเมียนมาว่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ของพม่าและการแบ่งเป็นรัฐชาติพันธุ์ 7 รัฐนั้นก็แบ่งตามจำนวนประชากรของกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีจำนวนมากที่สุดในรัฐนั้นเป็นเกณฑ์

ตัวอย่าง เช่น รัฐชาน หรือฉาน หรือไทใหญ่นั้น ก็ยังมี ชาวพม่า ชาวจีน ชาวว้า ชาวกะฉิ่น ชาวดะนุ ชาวอินทา ชาวปะหล่อง ชาวปะโอ ชาวพม่าเชื้อสายอินเดีย ชาวกะเหรี่ยง ชาวไทลื้อ ชาวคำตี่ ชาวไทดอยอาศัยอยู่ในรัฐฉานนี้ เป็นต้น

รัฐกะฉิ่น นอกจากจะมีประชากรกะฉิ่นมากที่สุดแล้วก็ยังมี ชาวพม่า, ไทใหญ่, นากา, จีน, อินเดีย, กูรข่า, ทิเบต ฯลฯ อาศัยอยู่เช่นกัน

ตามรัฐธรรมนูญฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบันของเมียนมากำหนดให้เมียนปกครองแบบรัฐเดี่ยวระบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร แต่ในวันศุกร์ที่ 16 เม.ย. ที่ผ่านมานี้ ได้มีการจัดตั้งรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ เป็นรัฐบาลคู่ขนาน เพื่อต่อต้านล้มล้างเผด็จการทหาร พร้อมเปิดโผคณะรัฐมนตรีในตำแหน่งต่างๆ

รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติของเมียนมาชุดนี้ ประกอบด้วย ประธานาธิบดี ที่ปรึกษาแห่งรัฐ รองประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย 11 รัฐมนตรีสำหรับ 12 กระทรวง และมีการแต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างๆ อีก 12 ตำแหน่ง ทั้งนี้ สมาชิกคณะรัฐมนตรี 26 คน มี 13 คนเป็นชาวชาติพันธุ์ และ 8 คนเป็นนักการเมืองหญิงโดยมี นายวิน มยิ่น จากพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยเป็นประธานาธิบดีและนางออง ซาน ซูจี เป็นที่ปรึกษาแห่งรัฐเช่นเดิม ถึงแม้ว่าบุคคลทั้ง 2ยังคงอยู่ในการควบคุมตัวของกองทัพพม่าก็ตาม

นายดูหว่าละชิละ จากชาติพันธุ์กะฉิ่นเป็นรองประธานาธิบดี รักษาการในตำแหน่งประธานาธิบดี และนายมาน วิน ข่าย ตาน จากชาติพันธุ์กะเหรี่ยงเป็นนายกรัฐมนตรี นางสาวสิ่น หม่า เอ่า เป็นรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ นายหลวิ่น โก่ ลั่ต รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย นายเหย่ หมุ่น รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม นายติ่น ทุน ไหน่ รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ศาสตราจารย์ส่อ เหว่ โซ เป็น รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ ฯลฯ

นอกจากนี้ยังมีการประกาศรวมตัวของคนรุ่นใหม่กับตัวแทนของกลุ่มชาติพันธุ์บางกลุ่มจัดตั้งกองทัพสหพันธ์อิรวดีที่เป็นกองกำลังติดอาวุธเพื่อต่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการทหารขึ้นอีกกองกำลังหนึ่งนอกเหนือจากกองทัพของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อีก 7
กองทัพเพื่อเป็นเป็นกองกำลังของชาวพม่าที่เปิดต้อนรับเหล่าทหารหาญพม่าผู้เปลี่ยนใจที่จะปราบปรามประชาชนหันมารวมตัวกันต่อสู้กับทหารฝ่ายเผด็จการนั่นเอง แต่เป็นการต่างคนต่างสู้นะครับ ไม่ได้รวมกันเป็นกองทัพเดียวที่มีการบังคับบัญชากันอย่างเป็นเอกภาพเพราะบรรดากองทัพของชาติพันธุ์ต่างๆ ยังไม่ไว้ใจชาวพม่ามากนัก

นักเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐประหารเมียนมาร่วมฝึกการต่อสู้ทางทหารในค่ายของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (เคเอ็นยู) เมื่อเดือน พ.ค. 2564STR / AFP

แต่การตั้งรัฐบาลแห่งชาติที่มีรองประธานาธิบดีรักษาการประธานาธิบดีเป็นคนกะฉิ่นและนายกรัฐมนตรีเป็นคนกะเหรี่ยงก็เป็นการแสดงความสามัคคีของชาวพม่ากับกลุ่มชาติพันธุ์ของพม่าได้เป็นอย่างดี
ครับ!

การตั้งกองทัพสหพันธ์อิรวดีถือเป็นนิมิตหมายว่าเมียนมากำลังจะเปลี่ยนเป็นรัฐรวมตามแบบสหพันธรัฐซึ่งจะขอชี้แจงรายละเอียดที่สำคัญและแตกต่างกันดังต่อไปนี้

รัฐเดี่ยว หมายถึง รัฐที่มีรัฐบาลกลางเพียงรัฐเดียวที่ใช้อำนาจอธิปไตยปกครองทั้งดินแดน โดยรัฐนั้นอาจจะแบ่งอำนาจให้ท้องถิ่นใช้บริหารกิจการของท้องถิ่นตามที่รัฐบาลกลางจะเห็นสมควรแต่อำนาจสูงสุดอยู่ที่เมืองหลวงเท่านั้น ตัวอย่างของรัฐเดี่ยว เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส ไทยและ สิงค์โปร์ เป็นต้น

ส่วนรัฐรวมแบบสหพันธรัฐหมายถึง รัฐที่มีรัฐบาล 2 ระดับ คือ รัฐบาลกลางหรือรัฐบาลท้องถิ่น (มลรัฐ) จะมีรัฐธรรมนูญกลางอยู่ 1 ฉบับเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ส่วนรัฐบาลท้องถิ่น (มลรัฐ) ทั้งหลายต่างก็มีรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดของแต่ละท้องถิ่น (มลรัฐ) แห่งนั้นแต่รัฐธรรมนูญของระฐบาลท้องถิ่น (มลรัฐ) จะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญกลางของประเทศไม่ได้

  1. รัฐบาลกลางที่มีเมืองหลวง ทำหน้าที่สำคัญ 3 ด้าน คือ ป้องกันประเทศ การเงินการคลัง และการต่างประเทศ
  2. รัฐบาลท้องถิ่น(มลรัฐ)ที่ทำหน้าที่บริหารภายในรัฐของตน เช่น ออกกฎหมายใช้ภายในรัฐ จัดการศึกษารักษาความสงบภายในรัฐของตัวเอง และจัดการสาธารณสุข พูดง่ายๆ คือมีอำนาจอธิปไตยโดยมีอำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการเป็นของตัวเองแต่จะไปขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญกลางไม่ได้เท่านั้น ประเทศที่มีลักษณะเป็นรัฐรวมแบบสหพันธรัฐ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย คานาดา ออสเตรเลีย ฯลฯ

ครับ! รัฐบาลทหารของเมียนมาแพ้แน่ครับ ส่วนฝ่ายประชาธิปไตยของเมียนมาก็จะมุ่งเข้าสู่การปกครองแบบสหพันธรัฐประชาธิปไตยต่อไป

ขอขอบคุณ

ภาพ :STR / AFP
ที่มา : https://www.sanook.com/news/8383642/