ข่าวสถานการณ์ชายแดนใต้

นิด้าโพลเผยคนชายแดนใต้ยังหนุน “บิ๊กตู่” นั่งนายกฯ – บางพรรคท้วง…ใช่หรือ?

วันอาทิตย์ที่ 26 ก.พ.66  นิด้าโพล หรือศูนย์สำรวจความคิดเห็น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “คนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เลือกพรรคไหน” ซึ่งสำรวจระหว่างวันที่ 10-20 ก.พ.66 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งใน จ.ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,100 หน่วยตัวอย่าง โดยใช้วิธีการสำรวจแบบสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 95.0

ผลสำรวจพบว่า ประชาชน 3 จังหวัดชายแดนใต้สนับสนุนให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ผลการสำรวจถึงบุคคลที่ประชาชน 3 จังหวัดชายแดนใต้สนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี มีรายละเอียดดังนี้

อันดับ 1 ร้อยละ 19.82 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จากพรรครวมไทยสร้างชาติ โดยให้เหตุผลว่า เป็นคนซื่อสัตย์สุจริต ทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบ จะได้บริหารประเทศอย่างต่อเนื่อง และชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา

อันดับ 2 ร้อยละ 17.55 นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา จากพรรคประชาชาติ ด้วยเหตุผลว่า มีประสบการณ์ในการทำงาน เป็นคนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และช่วยเหลือประชาชนอย่างต่อเนื่อง

อันดับ 3 ร้อยละ 16.73 น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร จากพรรคเพื่อไทย โดยให้เหตุผล ต้องการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงเข้ามาบริหารประเทศ ชื่นชอบพรรคเพื่อไทย นโยบายของพรรคที่ผ่านมาสามารถทำได้จริ งและชื่นชอบผลงานในอดีตของตระกูลชินวัตร

อันดับ 4 ร้อยละ 10.45 ระบุว่ายังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้

อันดับ 5 ร้อยละ 9.82 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ จากพรรคก้าวไกล โดยให้เหตุผลว่า เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถ กล้าคิด กล้าทำ ชื่นชอบแนวคิดและวิธีการทำงาน และชื่นชอบนโยบายของพรรคก้าวไกล

หากจำแนกเป็นรายจังหวัดถึงบุคคลที่คนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี 5 อันดับแรก พบว่า

  • จ.ปัตตานี อันดับ 1 ร้อยละ 45 เป็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา, อันดับ 2 ร้อยละ 18.20 เป็น นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา, อันดับ 3 ร้อยละ 15.71 เป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร, อันดับ 4 ร้อยละ 8.73 เป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และอันดับ 5 ร้อยละ 7.23 ระบุว่ายังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้
  • จ.ยะลา อันดับ 1 ร้อยละ 19.38 เป็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา, อันดับ 2 ร้อยละ 18.69 เป็น นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา, อันดับ 3 ร้อยละ 16.26 เป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร, อันดับ 4 ร้อยละ 12.46 ระบุว่ายังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ และอันดับ 5 ร้อยละ 11.42 เป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์
  • จ.นราธิวาส อันดับ 1 ร้อยละ 18.54 เป็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา, อันดับ 2 ร้อยละ 18.05 เป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร, อันดับ 3 ร้อยละ 16.10 เป็น นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา, อันดับ 4 ร้อยละ 12.20 ระบุว่ายังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ และ อันดับ 5 ร้อยละ 9.76 เป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์

นอกจากนี้ยังมีคำถามเกี่ยวกับการเลือก ส.ส. แบบแบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อ

สีแดง = ผลสำรวจจาก จ.ปัตตานี. สีเหลือง = ผลสำรวจจาก จ. ยะลา, สีฟ้า = ผลสำรวจจาก จ.นราธิวาส. สีเขียว = ผลสำรวจรวม

พรรคการเมืองที่คนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต พบว่า

อันดับ 1 ร้อยละ 22.64 พรรคประชาชาติ
อันดับ 2 ร้อยละ 19.64 พรรคเพื่อไทย
อันดับ 3 ร้อยละ 15.27 พรรคประชาธิปัตย์
อันดับ 4 ร้อยละ 12.91 พรรครวมไทยสร้างชาติ
อันดับ 5 ร้อยละ 10.73 พรรคก้าวไกล
อันดับ 6 ร้อยละ 4.91 พรรคพลังประชารัฐ
อันดับ 7 ร้อยละ 3.82 พรรคภูมิใจไทย
อันดับ 8 ร้อยละ 3.18 ยังไม่ตัดสินใจ
อันดับ 9 ร้อยละ 2.36 พรรคเสรีรวมไทย
อันดับ 10 ร้อยละ 1.45 พรรคชาติพัฒนากล้า และ พรรคไทยสร้างไทย

ที่เหลือร้อยละ 1.64 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อชาติ พรรคไทยภักดี พรรคเศรษฐกิจใหม่ พรรคกล้า พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรครวมพลัง และพรรคสร้างอนาคตไทย

เมื่อจำแนกเป็นรายจังหวัดถึงพรรคการเมืองที่คนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต 5 อันดับแรก พบว่า

  • จ.ปัตตานี อันดับ 1 ร้อยละ 27.68 พรรคประชาชาติ, อันดับ 2 ร้อยละ 17.46 พรรคประชาธิปัตย์, อันดับ 3 ร้อยละ 16.71 พรรคเพื่อไทย, อันดับ 4 ร้อยละ 14.46 พรรครวมไทยสร้างชาติ และอันดับ 5 ร้อยละ 8.23 พรรคก้าวไกล
  • จ.ยะลา อันดับ 1 ร้อยละ 20.07 พรรคเพื่อไทย, อันดับ 2 ร้อยละ 18.69 พรรคประชาชาติ, อันดับ 3 ร้อยละ 17.30 พรรคประชาธิปัตย์, อันดับ 4 ร้อยละ 13.84 พรรคก้าวไกล และ อันดับ 5 ร้อยละ 11.76 พรรครวมไทยสร้างชาติ
  • จ.นราธิวาส อันดับ 1 ร้อยละ 22.20 พรรคเพื่อไทย, อันดับ 2 ร้อยละ 20.49 พรรคประชาชาติ, อันดับ 3 ร้อยละ 12.20 พรรครวมไทยสร้างชาติ, อันดับ 4 ร้อยละ 11.71 พรรคประชาธิปัตย์ และอันดับ 5 ร้อยละ 10.98 พรรคก้าวไกล

สีแดง = ผลสำรวจจาก จ.ปัตตานี. สีเหลือง = ผลสำรวจจาก จ. ยะลา, สีฟ้า = ผลสำรวจจาก จ.นราธิวาส. สีเขียว = ผลสำรวจรวม

ส่วนพรรคการเมืองที่คนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พบว่า

อันดับ 1 ร้อยละ 20.64 พรรคเพื่อไทย
อันดับ 2 ร้อยละ 19.91 พรรคประชาชาติ
อันดับ 3 ร้อยละ 14.73 พรรคประชาธิปัตย์
อันดับ 4 ร้อยละ 13.55 พรรครวมไทยสร้างชาติ
อันดับ 5 ร้อยละ 10.73 พรรคก้าวไกล
อันดับ 6 ร้อยละ 4.91 พรรคพลังประชารัฐ
อันดับ 7 ร้อยละ 4.73 ยังไม่ตัดสินใจ
อันดับ 8 ร้อยละ 4.36 พรรคภูมิใจไทย
อันดับ 9 ร้อยละ 2.36 พรรคเสรีรวมไทย
อันดับ 10 ร้อยละ 1.55 พรรคไทยสร้างไทย
อันดับ 11 ร้อยละ 1.36 พรรคชาติพัฒนากล้า
ส่วนร้อยละ 1.17 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคไทยภักดี พรรคเพื่อชาติ พรรคไทยศรีวิไลย์ และพรรคเศรษฐกิจใหม่

จำแนกเป็นรายจังหวัดถึงพรรคการเมืองที่คนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ 5 อันดับแรก พบว่า

  • จ.ปัตตานี อันดับ 1 ร้อยละ 23.19 พรรคประชาชาติ, อันดับ 2 ร้อยละ 19.20 พรรคเพื่อไทย, อันดับ 3 ร้อยละ 16.71 พรรคประชาธิปัตย์, อันดับ 4 ร้อยละ 14.71 พรรครวมไทยสร้างชาติ และอันดับ 5 ร้อยละ 8.98 พรรคก้าวไกล
  • จ.ยะลา อันดับ 1 ร้อยละ 20.76 พรรคเพื่อไทย, อันดับ 2 ร้อยละ 18.69 พรรคประชาชาติ, อันดับ 3 ร้อยละ 16.61 พรรคประชาธิปัตย์, อันดับ 4 ร้อยละ 13.49 พรรคก้าวไกล และอันดับ 5 ร้อยละ 13.15 พรรครวมไทยสร้างชาติ
  • จ.นราธิวาส อันดับ 1 ร้อยละ 21.95 พรรคเพื่อไทย, อันดับ 2 ร้อยละ 17.56 พรรคประชาชาติ, อันดับ 3 ร้อยละ 12.68 พรรครวมไทยสร้างชาติ, อันดับ 4 ร้อยละ 11.46 พรรคประชาธิปัตย์ และอันดับ 5 ร้อยละ 10.49 พรรคก้าวไกล

หลังจากผลสำรวจถูกเผยแพร่ในวงกว้าง มีแกนนำพรรคการเมืองบางพรรคที่เน้นหาเสียงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แสดงความไม่เห็นด้วยกับผลสำรวจนี้ ให้เหตุผลว่า น้ำหนักในการเก็บความเห็นของกลุ่มตัวอย่าง มุ่งไปที่ประชาชนชาวพุทธมากกว่าสัดส่วนประชากรจริงในพื้นที่จริง

จากข้อมูลนิด้าโพลระบุว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นผู้นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 37.82 ส่วนผู้ตอบแบบสอบถามที่นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 62.18 คิดเป็นสัดส่วน ศาสนาพุทธต่อมุสลิมได้ประมาณร้อยละ 40 ต่อ ร้อยละ 60 ขณะที่สัดส่วนประชากรที่แท้จริงของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ อยู่ที่ศาสนาพุทธ ต่อ มุสลิม ประมาณร้อยละ 20 ต่อ 80 ด้วยสัดส่วนที่ต่างกันนี้ อาจทำให้ผลสำรวจคลาดเคลื่อนได้

แกนนำพรรคการเมืองในพื้นที่ชายแดนใต้ บอกว่า เมื่อนิด้าโพลสำรวจโดยให้น้ำหนักกับประชากรที่นับถือศาสนาพุทธจำนวนมาก ทำให้ผลสำรวจออกมาเป็นบวกกับ พล.อ.ประยุทธ์ เพราะประชากรกลุ่มนี้ยังสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ อยู่


ที่มา : สำนักข่าวอิศรา